โครงการและงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยชุมชนน่าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564 วิทยาลัยชุมชนน่าน โดยดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องด้านงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งสิ้น 5 โครงการและได้รับงบประมาณในการดำเนินโครงการจากสถาบันวิทยาลัยชุมชนจำนวน 1,125,000 บาท ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภายนอกจำนวน 800,000 บาท รวม ทั้งสิ้น 1,925,000.- บาท สำหรับการนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติดำเนินการโดยสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับ แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 ผลักดันระบบ งบประมาณ และการพัฒนาสมรรถภาพบุคลากร ส่งเสริมการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนที่กำหนด และสร้างกลไกประสานงานภายในหน่วยงานให้ขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมให้มีความก้าวหน้าอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมอย่างเป็นระบบโดย กำหนดให้มีการติดตามความก้าวหน้าจำนวน 3 รอบต่อปี คือรอบ 6 เดือน 9 เดือนและ 12 เดือน โดยมีรายละเอียดโครงการและงบประมาณที่ได้รับดั’ouh
งบประมาณโครงการและกิจกรรมด้านงานทำนุบำรุงศิลปวัฒธรรม วิทยาลัยชุมชนน่าน ประจำปีงบประมาณ 2564 ดาวน์โหลด
โครงการที่ 1 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กลุ่มงานกิจการพิเศษ ดำเนินการโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยชุมชนน่าน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยชุมชนน่าน เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีท้องถิ่นร่วมกับชุมชนและส่งเสริมสนับสนุน ให้มีส่วนร่วมในการสืบสาน อนุรักษ์ ประเพณีศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้แผนงาน พื้นฐานด้านการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยมีความสอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยชุมชนน่านข้อที่ 4 ทำนุบำรุง อนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยชุมชนน่านข้อที่ 3 การเพิ่มคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างมูลค่าเพิ่มภูมิวัฒนธรรมสังคม สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาองค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยชุมชนน่านจึงได้จัดทำโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้ดำเนินการกิจกรรมดังนี้
- กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา(วันเข้าพรรษา)
- กิจกรรมศึกษาวิถีชุมชนตามรอยบรรพชนคนรุ่นเก่าเพื่อฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมคนเมืองน่าน
- กิจกรรมงานสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามสร้างคุณค่าทางจิตใจ
- กิจกรรมส่งเสริมด้านจิตสาธารณะด้านศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรมประเพณีท้องถิ่นประเพณีไทยที่ร่วมกับชุมชนและจังหวัดน่าน
- กิจกรรมส่งและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โครงการที่ 2 โครงการพัฒนาศูนย์น่านศึกษาให้เป็นพื้นที่เสริมสร้างความสุขและความเข้มแข็งของชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564fh
ด้วยศูนย์น่านศึกษา(หออัตลักษณ์นครน่าน) วิทยาลัยชุมชนน่าน ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์น่านศึกษาให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เสริมสร้างความสุขและความเข้มแข็งของชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการบริหารศูนย์น่านศึกษา หออัตลักษณ์นครน่าน ศึกษาและจัดการองค์ความรู้พื้นถิ่นน่าน และล้านนาตะวันออกในมิติต่างๆ สู่การเรียนรู้ของชุมชน ภาคีเครือข่าย สร้างพื้นที่เรียนรู้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการองค์ความรู้เสริมสร้างความสุขและความเข้มแข็งของชุมชน ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ โดยได้ดำเนินการกิจกรรมที่สอดคล้องกับงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมดังนี้
- กิจกรรมที่ 3.1 รักบ้านเกิด เชิดชูอัตลักษณ์น่าน(รถโมบายเคลื่อนที่)
- กิจกรรมที่ 3.2 กิจกรรมฝึกอบรมการทำต้นกุ่มสักการะพระเจ้าน่าน
- กิจกรรมที่ 3.4 ค่ายอาสาสมัครหออัตลักษณ์นครน่าน รวมผู้สูงวัยและเยาวชน รุ่นที่ 4 ตอนดอนมูลศึกษา
- กิจกรรมที่ 3.5 เทศกาลศิลปะวัฒนธรรมเพื่อชุมชน
- กิจกรรมฝึกอบรมจัดทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ
- กิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหัวเรือแข่งอัตลักษณ์น่าน
โครงการที่ 3 โครงการ การพัฒนาคุณภาพสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ เพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอบ้านหนองห้า
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเกิน100%ผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติ ลดการตกของสี สีมีความคงทน ได้เทคนิควิธีการสกัด การย้อม สีใหม่ๆ ได้สีเข้มกว่าเดิมได้ลวดลายผ้าทอ คอเลคชั่น “แนวน่าน “ จำนวน 6 ลวดลาย เป็นการนำลายผ้าทอโบราณของผ้าน่านมาประยุกต์ (ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงทอ) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีทอผ้าบ้านหนองห้า เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการย้อมสีจากธรรมชาติ กลุ่มมีรายได้จากจำหน่ายผ้าทอพื้นเมืองย้อมสีจากธรรมชาติคอเลคชั่นเสาดิน ม่อนดอย ปี 2563 มากกว่า 300,000 บาท และคอเลคชั่นเสาดินม่อนดอย มีผู้ประกอบการผ้าน่านบุรี ขอซื้อสิทธิ์ลายเสาดินม่อนดอย เพื่อนำผ้าทอบ้านหนองห้าไปสร้างแบรนด์ใหม่ โดยรับซื้อไม่จำกัดจำนวน
- กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาความเสถียรภาพของสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ (ครูเอก นายสุพิศ สุวรรณมณี)
- กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาความเสถียรภาพของสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ (ครูกบ นายนิทัศน์ จันทร)
- กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างสรรค์และออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติครั้งที่ 1
- กิจกรรมที่ 4 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างสรรค์และออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติ ครั้งที่ 2
โครงการที่ 4 โครงการการศึกษาอัตลักษณ์เรือแข่งจังหวัดน่านผ่านรูปแบบเชิงช่างศิลป์พิ้นถิ่นน่าน
ศูนย์น่านศึกษา หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่านเป็นศูนย์การเรียนรู้ ที่สนับสนุนสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของเมืองน่าน แหล่งศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตและเผยแพร่องค์ความรู้ เชิงประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ทุนทางสังคมสู่การจัดการการท่องเที่ยวแก่คนเมืองน่านและสาธารณชน สร้างเสริมเอกลักษณ์ไทย อนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศูนย์น่านศึกษา หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่านจึงได้จัดทำโครงการการศึกษาอัตลักษณ์เรือแข่งเมืองน่าน ผ่านรูปแบบเชิงช่างศิลป์หัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.6 เพื่อมุ่งเน้นถอดรูปแบบความงามและเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเรือแข่งเมืองน่าน ที่เป็นเชิงช่างหัตถศิลป์พื้นถิ่น จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ ในการที่จะเป็นต้นทุนของเมืองน่าน สามารถปกป้องรักษาคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งหวังที่จะเป็นแนวทางในการต่อยอดการอนุรักษ์รักษาจิตวิญญาณ ประเพณีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำนี้ไว้คู่กับเมืองน่านต่อไป
โครงการที่ 5 โครงการจัดทำหลักสูตรมรดกวัฒนธรรมงานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน เพื่อขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO
วิทยาลัยชุมชนน่าน โดยศูนย์น่านศึกษา เล็งเห็นความสำคัญขับเคลื่อนน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ด้านหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน จึงนำเสนอโครงการจัดทำหลักสูตรมรดกวัฒนธรรมงานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน เพื่อขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อพท. โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลจากการศึกษาเรื่องมรดกวัฒนธรรมงานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่าน สู่การจัดการเรียนรู้ส่งต่อองค์ความรู้ทักษะหัตถกรรมให้คงอยู่ในชุมชน และถ่ายทอดให้เยาวชนสืบสานงานหัตถกรรมยั่งยืนต่อไป อีกทั้งเพื่อยกระดับคุณค่างานหัตถกรรมพื้นถิ่นน่านสู่การสร้างอาชีพและรายได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลผลิตของการศึกษาคครั้งนี้ยังจัดทำเป็นองค์ความรู้เป็นรูปเล่ม เผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว สามารถตอบตัวชี้วัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ของ อพท. ประจำงบประมาณ พ.ศ.2564 ในการจัดทำชุดองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองน่านและหัตถกรรมพื้นบ้าน และสามารถตอบสนองการขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO โดยสอดคล้องกับประเด็นที่ต้องดําเนินการภายใต้ The UNESCO Creative Cities Network (UCCN) ข้อที่ 11 ที่กำหนดให้เมืองสร้างสรรค์ต้องมีหลักสูตรหรือโปรแกรมที่สนับสนุนวัฒนธรรมและความสร้างสรรค์ ทั้งในรูปแบบในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ