By Published On: มกราคม 31st, 2024Categories: นิทรรศการ

“อัตลักษณ์น่าน” ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 (พุทธศตวรรษที่ 18 )  นครน่านเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มอิทธิพลของล่มน้ำโขงและกลุ่มอิทธิพลล้านนา ของวัฒนธรรมและการค้าภาคพื้นทวีป ก่อน การเปลี่ยนทิศการค้าจะไปอยู่เมืองอ่าว เมืองท่า นครน่าน จึงได้สะสมบ่มเพาะปัญญา จากหลากทิศทาง จนในที่สุดสามารถสร้างรูปแบบอัตลักษณ์อันเป็นฐานรากสำคัญของนครน่าน ขึ้นมาได้ กระนั้น อัตลักษณ์น่านหาได้เติบโตขึ้นเพียงลำพัง หากแต่ได้รับอิทธิพลสกุลช่างทั้งจาก ล้านช้าง สุโขทัย เมี่ยนมาและล้านนา เก็บรับ ซึมซับและปรับใช้ภูมิปัญญาที่อรยธรรมก่อนหน้าได้สั่งสมไว้ ดังนั้นการตั้งคำถามกับอัตลักษณ์น่านเราจำต้องกลับไปทบทวนและทำความเข้าใจในวัฒนธรรมร่วมโดยรอบ เพื่อที่เราจะได้เห็นภาพชัดขึ้นของคำว่า อัตลักษณ์น่าน ถ้านครน่านเป็นคน

ปัจจุบันน่านเป็นคนแบบไหน มีบุคลิกภาพ มีอัตลักษณ์อย่างไร นี่เป็นคำถามที่ตอบยากพอประมาณ น่านเป็นคนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมสมัยสุโขทัย มีบางช่วงประวัติศาสตร์ของนครน่านมีการย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ และมีการย้ายในระหว่างพื้นที่อยู่หลายครั้ง จึงมีหลักฐานการตั้งนครหลวงกระจายหลายจุด จากภายใต้การนำของพญาภูคาเมืองย่าง ราชบุตรบุญธรรม ขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัวสุดท้ายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอณาจักรพะเยาและเป็นอิสระได้อีกครั้งพญาผานอง (ยุคแรก) ก่อนโยกย้ายเมืองสู่นครน่านตอนใต้ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 ยุคสมัย พญาการเมือง เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับสุโขทัย (ยุคแรก) น่านยุคกลางแถบแตกกระจายกลายเป็นเมืองขึ้นและถูกทิ้งร้าง เป็นไปตามอิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรที่เหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ เมี่ยนมาและ สยามประเทศ เป็นแผ่นดินสุดท้าย เปลี่ยนผ่านนักปกครองในรูปนครรัฐ อย่างยาวนานก่อนหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศฉะนั้นเมื่อ น่านเดินไปสู่อนาคตมันจึงไม่อาจแยกตัวจากอดีต น่านยังคงนำประวัติศาสตร์ร่วมทางไปด้วยเสมอ ดังนั้นถ้าน่านเป็นคน น่านก็น่าจะเป็นคนชราผู้มากด้วยประสบการณ์ ผ่านร้อน ผ่านหนาวมามากมาย ผ่านเหตุการณ์การสร้างอัตลักษณ์ และตัวตนมาหลายครั้งหลายหน จนนครน่านกลายเป็นคนที่มีบุคลิกพิเศษไม่เหมือนใคร ร่วมอายุแห่งเส้นทางเดินของชีวิตตั้งแต่ก่อรูปเป็นนครรัฐมายาวนานถึง 736 ปี

เมื่อลบปีปัจจุบัน มันคือเมืองที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในวัฒนธรรมภูมิภาคของภาคเหนือ ประเทศไทย ผ่านการพัฒนาเมืองมาอย่างต่อเนื่องมีพัฒนาการโยกย้ายเมืองจากเหนือสู่ใต้ ด้วยเหตุผลของการปรับตัวเองให้ทันยุคสมัยอยู่ให้รอดท่ากลางความเปลี่ยนแปลงของโลกในแต่ละยุคสมัยนครน่าน และคนน่านในยุคสมัย จึงมีความสำคัญในการทำความเข้าใจให้ได้ถึงพัฒนาการของเมือง ทั้งคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ของเมือง ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างไร เงือนไขใด จากเมืองที่ตั้งอยู่เนินเขาต้นน้ำน่านในสมัยแรก สู่ภูมิประเทศที่ราบลุ่มตอนใต้ ถึงเวลาปัจจุบันทั้งหมดเชื่อมโยงและยึดโยงกันอย่างลึกซึ้งถ้าเทียบกับระยะเวลายาวนานในประวัติศาสตร์แล้วนครน่าน คือคนสูงวัย สุขภาพของนครน่านตอนนี้เป็นอย่างไร เราจะรักษานครน่าน ไว้ให้อยู่กับความท้าทายของโลกสมัยใหม่ได้อย่างไร มันคือคำถามที่ใหญ่มากๆ สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนา นักวิชาการ หรือประชาชนพลเมืองคนน่านทุกๆคน เราต้องมีชุุดความคิดใด ชุดความคิดต้องมีความหลากหลายมิติ มีองค์ความรู้ที่เป็นทั้ง พหุวัฒนธรรม ทั้งมิติ การเมืองการปกครองสู่นโยบายสาธารณะ สังคมและคุณค่าระดับปัจเจคจนถึงมหภาค เศรษฐกิจที่มองเห็นคุณค่ามากกว่ามูลค่า ศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นอาหารทางจิตวิญญาณมากกว่าแค่รูปแบบสินค้าและสิ่งแวดล้อมที่ถูกใช้อย่างสมดุลที่มองผ่านให้ไกลกลายเป็นมรดกของลูกหลาน

“นครรัฐน่านสู่ จังหวัดน่าน เมืองที่ยังมีชีวิตและก้าวต่อไปภายใต้กระแสโลกที่หมุนเร็วตลอดเวลา กับความท้าทายในการที่จะคงรักษาความเป็น อัตลักษณ์น่าน ให้คงอยู่ตลอดไป