“เมี่ยงมี ป่าอยู่ คนยัง”
เมี่ยง เป็นอาหารว่างของคนในภูมิภาคถือเป็นวัฒนธรรมร่วมในอดีตถึงปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่ไม่นิยมกันแล้ว พูดถึงเมี่ยงในความทรงจำในอดีตทุกบ้านจะมีเมี่ยงไว้เป็นของกิน และใช้ต้อนรับแขกหรือญาติที่มาเยี่ยมเยือน โดยมีห่อเมี่ยงคู่กับขันหมากและโป้ยาขื่น(กระป๋องยาสูบ) โดยแขกจะแกะห่อเมี่ยงแล้วกินเมี่ยงที่เจ้าของบ้านต้อนรับแล้วจึงพูดคุยปรึกษาเรื่องราวต่างๆ เป็นสุนทรียสนทนา (dialogue) แบบบ้านๆของเรา สิ่งที่น่าสนใจคือเมี่ยงกลายเป็นสินค้าส่งออกของน่านเป็นอันดับต้นๆของภาคเหนือ(อ้างตามงานวิจัยของ การฟื้นฟูรักษาป่าต้นน้ำและการจัดการที่ดินเพื่อยกระดับความเป็น อยู่ของคนในพื้นที่อย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)) และความอ่อนไหวและโจทย์ใหญ่ ในมิติการอนุรักษ์ทั้งภูมิวัฒนธรรมของชุมชนพร้อมระบบนิเวศน์ของป่าให้ยังคงอยู่(การอนุรักษ์ที่ดีที่สุดคือเราต้องยังคงใช้งานมันอยู่ในเวลาปัจจุบันและอนาคต)…ชา เมี่ยง เคี้ยวเมี่ยง หรือ อมเมี่ยง ที่เริ่มหายไปจากคนรุ่นหลัง….?
วิชาจังหวัดศึกษา : เชื่อมประเด็นการเรียนรู้ น่านศึกษา 30 มิถุนายน 2562 กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ป่าใกล้เมือง ตอน รักษ์ป่าน่าน ณ ป่าห้วยหลวง บ้านตาแวน-ศรีนาป่าน กิจกรรมจัดขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความสุขให้กับครอบครัว “พาลูกเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน สัมผัสธรรมชาติ” นักศึกษา สาขาปฐมวัย รุ่น 2
หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน ได้รับอนุมัติแผนงานบูรณาการณ์กระดับคุณภาพ การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตหออัตลักษณ์ได้เปิดพื้นที่การเรียนรู้หลากหลายประเด็นแก่คนเมืองน่านโดยการออกแบบกิจกรรมผ่านการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายหออัตลักษณ์นครน่าน และได้จัดโครงการศูนย์น่านศึกษาและหออัตลักษณ์นครน่าน โดยมุ่งหวังให้หออัตลักษณ์นครน่านเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สนับสนุน สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของคนเมืองน่านตลอดชีวิต
จึงได้จัดกิจกรรมกิจกรรมศึกษาธรรมชาติ ตอน นิเวศน์ป่าใกล้เมือง ป่าเมี่ยงชุมชนศรีนาป่าน โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เป็นกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายครั้งนี้เป็นกิจกรรมแบบครอบครัว ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันของคนในครอบครัว ที่มีความสนใจประเด็นการศึกษาด้วยกิจกรรมการเดินป่า จำนวน ๖๐ คน ในเวลาปัจจุบันถ้าเราจะเรียนรู้เรื่องลักษณะของป่าไม้และระบบนิเวศน์ป่าของเมืองน่านว่าเมื่อ 500 ปี ก่อนหน้านั้นป่าน่านมีน่าตาเป็นอย่างไร….ป่าเมี่ยงคือคำตอบที่พอทำให้เราเห็นระบบนิเวศน์ของป่าน่านที่ถูกชุมชนรักษาไว้….ด้วยเงือนไขกระบวนการผลิตใบเมี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาป่า….และความเชื่อของชุมชนความศรัทธาของการจัดการป่าในชุมชน
หออัตลักษณ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน ได้มีส่วนในการหนุนเสริม ให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่เมืองน่านโดยผ่านเครือข่ายนักนิเวศน์วิทยา นักเดินป่า คุณรัฐพล ใกล้ชิด และผู้ประสานงานให้เกิดการจัดกิจกรรม อาจารย์สิทธิธัช ธิติกุลเกษมศักดิ์ กรรมการบริการหออัตลักษณ์ฯและประธานอนุกรรมการ การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม อยู่เบื้องหลังการออกแบบกิจกรรมครั้งนี้
ในนามหออัตลักษณ์นครน่าน จึงมีความยินดียิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ นักสร้างสรรค์ ศิลปิน นักกิจกรรม ได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดน่าน การสร้างบทเรียนให้กับคนน่านภายใต้กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ป่าใกล้เมือง ตอน รักษ์ป่าน่าน ณ ป่าห้วยหลวง บ้านตาแวน-ศรีนาป่าน กิจกรรมจัดขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความสุขให้กับครอบครัว “พาลูกเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน สัมผัสธรรมชาติ” การได้พาเด็กๆ ไปลองใช้ชีวิตอยู่กับชุมชนได้สัมผัสวิถีชีวิตที่สุดแสนจะแตกต่างจากชีวิตในเมือง เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่เด็กๆจะได้เรียนรู้ที่จะกิน อยู่ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และเป็นมิตรกับธรรมชาติเช่นดังชุมชน บ้านตาแวน-ศรีนาป่านที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติร่วมกับป่าเมี่ยงเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตลูกหลานสืบมาจนถึงทุกวันนี้ กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่าน เสรี พิมพ์มาศ ประธานสภาวิทยาลัยชุมชน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดงานและร่วมลงพื้นที่ทั้งวันในการลงไปให้กำลังใจและเรียนรู้ในครั้งนี้…รองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนน่านโชติกา ณ หนองคาย ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยประยงค์ แก้วประทุม ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนน่าน อาจารย์สินธิธัช ธิติกุลเกษมศักดิ์ กรรมการบริหารหออัตลักษณ์นครน่าน และประธานอนุกรรมการการมีส่วนร่วมฯของหออัตลักษณ์นครน่าน คุณพยอม วุฒิสุทธิสวัสดิ์ และนักGIS ชุมชน น้องโน๊ต พันทิวากร เป็นตัวแทน ทีมน่านฟอรั่มมูลนิธิฮักเมืองน่าน ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลพัฒนาการของการจัดการป่าน่าน