ชนชาติกาว (พญากาวน่าน)
ลาวกาวคือลุ่มน้ำชี เช่น คนขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และนครจำปาสักครับ ภาษาถิ่นจะไม่เหมือนถิ่นอื่น ตามหลักฐานมีพื้นเพมาจากลาวทางเหนือ สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์ทางสายเลือดห่าง ๆ กับคนไทกลุ่มที่เรียกว่า “ไทกาว” คือคนแคว้นแพร่ และน่าน ตั้งแต่โบราณด้วย คนแพร่-น่านเป็นชาวไทกาว ที่ศิลาจารึกสุโขทัยพูดถึงชาว “กาว” ว่าสืบผีบรรพบุรุษร่วมกับชาว “เลือง” หรือสุโขทัย ต่อมาแพร่น่านถูกชาว “ยวน” จากล้านนาแห่งลุ่มน้ำปิงเข้าครอบงำ กลืนทั้งเชื้อชาติและวัฒนธรรม คำว่า “กาว” จึงหายไปจากแผ่นดินแพร่-น่าน
น่าแปลกที่สำเนียงบางอย่างของชาวล้านนาตะวันออกคือแพร่-น่าน ละม้ายกับคนหัวเมืองลาวกาวในภาคอีสาน ถึงจะไม่เหมือนกันทีเดียวก็ตาม เช่น เสียงวรรณยุกต์คำว่า น้ำ น้อง เป็น น่ำ น่อง ซึ่งต่างจากเชียงใหม่ที่ออกเสียง น้ำ น้อง และเสียงสระเอือ ที่ออกเสียงคล้าย เอีย เช่น เกี๋ย (เกลือ) เมียง (เมือง)
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลจาก อาจารย์ประเสริฐ ณ นคร เกี่ยวกับ “ชาวกาว” ครับ จากบทความ “มา ลาว กาว”
“ชาวกาวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ไทย โดยเป็นคำที่ใช่เรียกเผ่าไทที่อยู่ในเมืองแพร่และเมืองน่าน มีปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในศิลาจารึกปู่หลานสบถกัน พ.ศ. 1935 เรียกบรรพบุรุษของกษัตริย์แพร่และน่านว่า ด้ำพงศ์กาวเมืองแพร่และเมืองน่านถูกผนวกรวมเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพญาลิไท และเคยยกทัพมาช่วยสุโขทัยรบกับพระนครศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1919 และมีความสัใพันธ์ทางเครือญาติกับกษัตริย์สุโขทัย ดังที่ปรากฏในพงศาวดารน่านว่าเมื่อเกิดปัญหาแย่งชิงอำนาจภายในเมือง ฝ่ายแพ้จะหนีลงมาพึ่งพระยาเชลียง เจ้าเมืองสุโขทัย
เมื่อเจ้าศรีจันทะ ถูกพระยาเมืองแพร่ฆ่าตายเมื่อ พ.ศ. 1939 เจ้าหุงผู้เป็นอนุชามาขอกองทัพพระยาเชลียงไปยึดเมืองคืนได้ใน พ.ศ. 1941 ต่อมาใน พ.ศ. 1945เจ้าอินต๊ะแก่นถูกน้องชายชิงเมือง ก็หนีไปพึงเจ้าเมืองสุโขทัยยกทหารมายึดเมืองคืน จนกระทั่งพ.ศง 1991 พระเจ้าติโลกราชยึดเมืองน่านได้ รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา คำว่า “กาว” จึงหายไป
นอกจากจะมีชาวกาวในจังหวัดแพร่และน่านแล้วอาจจะมีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศลาวด้วย เพราะเมืองน่านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหลวงพระบางมาตั้งแต่ครั้งพระเจ้าฟ้างุ้ม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เคยมีหัวเมืองลาวกาว ประกอบด้วยเมืองสำคัญ 7 เมืองคือ อุบลราชธานี นครจำปาศักดิ์ ศรีสะเกษสุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เมื่อเปลี่ยนการปกครองหัวเมืองเป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล หัวเมืองลาวกาวจึงเป็นมณฑลลาวกาว ซึ่งตั้งกองบัญชาการมณฑล ณ เมืองอุบลราชธานี โดยมีกรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวคนแรก และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อ พ.ศ. 2442 และเป็นมณฑลอีสานเมื่อ พ.ศ. 2443″
กาว ในที่นี้หมายถึงกลุ่มชนชาติที่เคยมีอยู่จริง ที่กล่าวว่าเคยมีอยู่จริง ก็เพราะในปัจจุบันนี้ไม่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีชื่อว่า กาว อีกแล้ว ด้วยความที่พวกเขาได้หายสาปสูญ และเป็นได้เพียงกลุ่มคนที่ปรากฏชื่อในตำนานเมืองเหนือบ้าง อีกปรากฏเรื่องราวบนหลักศิลาจารึกบ้าง แต่หากจะตามไปเคาะประตูบ้านจริงอย่างที่ขึ้นหัวเรื่องไว้ ก็คงไม่ประสบผลสำเร็จเป็นแน่ ด้วยมีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อกลุ่มไทยลื้อได้อพยพเข้าสู่เมืองน่านตั้งแต่เมื่อ ๒๐๐-๓๐๐ ปีก่อน และก่อร่างสร้างชุมชน พัฒนาการของกลุ่มไทยลื้อได้กลืนกินชนชาติ กาว จนกระทั่งสูญหายในที่สุด แม้ กาว จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หาข้อเท็จจริงได้ยาก แต่ด้วยหลักฐานที่มีอยู่มากมาย ล้วนบ่งชี้ให้เห็นว่าพวก กาว เคยเป็นชนชาติที่มีอยู่จริง (และจริงเสียยิ่งกว่าพวก แมนตาตอกขอกฟ้าตายืน ที่ผมเชื่อว่าเป็นชื่อในเชิงสัญลักษณ์ อันอาจหมายถึงกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง-นอกเรื่อง) ผู้เขียนจำได้ว่าเคยอ่านงานเขียนของท่านอ.ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งท่านได้เขียนไว้ที่ไหนสักแห่ง ท่านกล่าวว่า เรื่องเกี่ยวกับ กาว ยังไม่เคยมีใครศึกษาอย่างถ่องแท้มาก่อน จะด้วยอุปสรรคขวากหนามมากหรือว่ายังไม่มีใครให้ความสนใจกับชนชาติกลุ่มนี้ก็แล้วแต่ ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจดี จึงได้รวบรวมข้อมูลต่างๆแล้วเดินทางขึ้นภาคเหนืออีกครั้ง โดยกำหนดตารางจากเชียงใหม่ มาเมืองแพร่ แล้วค่อยเลยมาน่านเป็นจุดสุดท้าย เพื่อค้นหาเรื่องราวของพวก กาว เอามาเขียน และต่อไปนี้….ขอเชิญท่านทำความรู้จักกับชนชาติ กาว สักยกหนึ่งก่อน
กาวคือใคร – ใครคือกาว ?
ก่อนอื่นคงต้องทำความรู้จักมักคุ้นกันเสียก่อน จะไปเที่ยวบ้านเขาทั้งทีก็ต้องรู้เสียก่อนว่าเจ้าของบ้านเป็นใคร มาจากไหน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ง่าย เพราะว่าชนชาติกาวที่จะพาไปเยี่ยมสู่กันนี้ เป็นชนชาติในอดีตกาลที่ปรากฏชื่อชนชาติเพียงในหลักศิลาจารึก,พงศาวดาร และตำนาน,เรื่องเล่าทางภาคเหนือเท่านั้น ปัจจุบันไม่มีอีกแล้วครับ ชนชาติผู้มีชื่อว่า กาว พวกเขาได้สูญหายอย่างไร้ร่องรอย และสูญหายไปนานแล้ว อีกทั้งยังไม่เคยมีนักวิชาการทางมานุษยวิทยาท่านใด ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ กาว เป็นรูปธรรมชัดเจน ในเมื่อไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ จึงไม่มีข้อมูลหรือหนังสือ หรือเว็บไซต์ใดที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง แม้แต่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่านก็ไม่มี ในเว็บไซด์ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรก็ไม่มี ด้วยการตกสำรวจทางการศึกษานี้เอง ที่ทำให้เรื่องราวของชนชาติ กาว กลายเป็นเรื่องลึกลับดำมืดสำหรับผู้คนทั่วไป เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจศึกษา กาว ต่อไปในอนาคต จึงอยากบันทึกรายชื่อหลักศิลาจารึก อีกทั้งพงศาวดาร,ตำนานต่างๆที่มีชื่อ กาว เข้าไปเกี่ยวข้อง เท่าที่รวบรวมข้อมูลมาได้ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
หนึ่งคือ หลักศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง (จารึกเมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๕ ? สุโขทัย) หรือที่เรียกกันเป็นชื่อเล่นว่า หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง ซึ่งมีวลีอมตะว่า มากาวลาว คำว่า กาว นี้เองที่ถูกแปลกันโดยทั่วไปว่า เป็นชื่อของชนชาติแถบ จังหวัดแพร่และน่าน ซึ่ง ณ ที่นี้อ้างตาม ศ.ฉ่ำ ทองคำวรรณ ผู้เขียนหนังสือหลักศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือประกอบการเรียนกระบวนวิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
นอกจากคำว่า กาว คำเดียวโดดๆแล้ว ท่านยังให้ความหมายของคำว่า วงศ์กาว โดยเขียนเป็นเชิงอรรถสั้นๆว่า หมายถึงไทยเผ่าหนึ่งอยู่ทางเมืองน่าน และอีกคำหนึ่งคือ ลาวกาว ที่ใช้กันในสมัยรัชกาลที่ ๕ ว่าเป็นคำเรียกชาวอีสานคือกลุ่มชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นด้วยเหตุผลกลใดที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล รัฐบาลไทยค่อยๆรวบรวมเมืองต่างๆเข้าด้วยกันเป็นมณฑล แล้วให้ชื่อมณฑลแตกต่างกันไป น่าสงสัยแค่เพียงว่า บางส่วนของภาคเหนือได้ชื่อว่ามณฑลลาวเฉียง แต่บางส่วนของภาคอีสานกลับได้ชื่อว่ามณฑลลาวกาว ซึ่งอันที่จริงคำว่า ลาวกาว นี้ควรใช้กับพื้นที่แถบแพร่ น่าน เสียมากกว่า เพราะเคยมีพวก กาว อาศัยอยู่ ซึ่งต่อมาไม่อยากให้มีการแบ่งแยกกันระหว่างไทย-ลาว จึงเปลี่ยนชื่อจาก มณฑลลาวกาว เป็น มณฑลอีสาน แทน เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องแปลกแต่จริง
สองคือ หลักศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ หรือ หลักศิลาจารึกปู่สบถหลาน (จารึกเมื่อพุทธศักราช ๑๙๓๕ สุโขทัย) ที่เรียกอย่างนี้เป็นเพราะว่า จารึกหลักนี้เป็นคำสาปแช่งต่อผู้มีใจกบฏคิดไม่ซื่อครับ เนื้อความมีการอัญเชิญดวงวิญญาณกษัตริย์สุโขทัยหลากหลายพระองค์ อีกทั้งผีห่าตายโหงอะไรอีกมากจนเป็นที่น่าขนพองสยองเกล้า โดยมีผีบรรพบุรุษตนหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ คือ ดำพงศ์กาว (แอบกระซิบว่าจารึกหลักนี้เอ่ยถึง เขาพูคา ด้วย -เขียนด้วย พ นะครับ คุณยามภาษาทั้งหลาย คือเป็นภาษาในจารึก ไม่ใช่ภาษาปัจจุบัน)
สามคือ หลักศิลาจารึกวัดบูรพาราม (จารึกหลังพุทธศักราช ๑๙๕๖ สุโขทัย) เนื้อความจารึกถึงกษัตริย์สุโขทัยพระองค์หนึ่ง ที่พยายามแผ่ขยายอำนาจของพระองค์ขึ้นไปยัง รัฐกาว หรือ กาวเทศ ซึ่งอยู่ทางทิศอุดรของเมืองสุโขทัย
สี่ ความรู้ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือของมูลนิธิสารานุกรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ มีคำเรียกกษัตริย์เมืองน่านว่า พระยากาวน่าน ส่วนตำนานพื้นเมืองน่านฉบับวัดพระเกิด ก็กล่าวถึงชนชาติ กาว ในการปกครองของ เจ้าขุนฟอง เจ้าเมืองวรนครคนแรก
ห้า ส่วน พงศาวดารเมืองน่าน ของ พระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช ซึ่งหลังจากพระองค์รับพระสุพรรณบัตรจากรัชกาลที่ ๕ ได้มีพระราชโองการให้แสนหลวงราชสมภารเรียบเรียงพงศาวดารเมืองน่านไว้ การจดจารเอกสารฉบับนี้ได้รวบรวมตำนานเมืองเหนือหลายฉบับเข้าด้วยกัน ผสมกับตำนานเมืองน่านฉบับวัดพระเกิด และองค์ความรู้ของแสนหลวงราชสมภารท่านเอง ซึ่งในบางบทบางตอนอาจเป็นความเชื่อของท้องถิ่น เนื้อเรื่องเริ่มต้นตั้งแต่ พระยาลาวจังกราช (ปู่เจ้าลาวจก,ลวจังกราช) ผู้กินเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ส่งลูกชายสองในสามคนออกไปครอบครองเมืองใหม่ หนึ่งในนั้นคือ ลาวกอ ได้ครอบครองเมืองที่เรียกกันว่า แคว้นกาว ต่อมาได้ชื่อเป็น เจ้าลาวกอแล
พงศาวดารเมืองน่านนี้มีข้อความที่กล่าวถึง กาว อยู่สามแห่ง อีกสองแห่งที่เหลือคือ… ล่วงเข้ายุคสมัย พระยาภูคา ครองเมืองย่าง มีลูกบุญธรรมที่เกิดจากไข่ ๒ ใบซึ่งลูกใหญ่เท่ามะพร้าว คนหนึ่งชื่อเจ้าขุนนุ่น อีกคนหนึ่งชื่อเจ้าขุนฟอง ต่อมาพระยาเถรแต๋ง ฤาษีได้สร้างเมืองขึ้น ๒ เมืองคือ เมืองจันทบุรี และ เมืองวรนคร เจ้าขุนฟองคนน้องได้ครอบครองเมืองวรนคร และได้ชาวกาวเข้ามาอยู่ในบังคับ ดังความว่า
“จิงหื้อกวาด(คน) ทั้งอยู่บนที่นั้นเป็นบริเวณหั้นแล” และ “ส่วนหนกาวลาวก็ว่ามาแล้วแล”
อีกตอนหนึ่งที่กล่าวถึงชนชาติ กาว เป็นเหตุการณ์ในสมัยเจ้าขุนฟองนี้เอง ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่มที่อ้างไว้ระบุคำกล่าวจาก พื้นเมืองน่านฉบับวัดพระเกิดที่สอดคล้องความกับพงศาวดารเมืองน่านว่า
“เมื่อนั้นชาวกาวไทยทั้งหลาย” (ได้พากันแปงโรงพระยาการเมือง ตามความประสงค์ของผู้ปกครอง)
หลังจากว่ากันยาวเหยียดเกี่ยวกับหลักฐานต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับพวกกาวแล้ว อาจแปลเป็นความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวกับ กาว ของผู้คนในสมัยนั้นได้ไม่มากก็น้อย
ในสมัยอยุธยาตอนต้น ดังข้อความสบถในจารึกหลักที่ ๔๕ ซึ่งพบที่สุโขทัยนั้น ทำให้เรารับรู้ว่าผู้คนในสมัยนั้นยังรู้จัก กาว ในฐานะชนชาติหนึ่ง เพราะมีการเอ่ยนาม ดำพงศ์กาว ในฐานะผีบรรพบุรุษ หากไม่มีความเชื่อ ว่า กาว เป็นชนชาติหนึ่งแล้วจะมีผีบรรพบุรุษได้อย่างไร ?
ดังนั้นในราวสมัยอยุธยาตอนต้น ชาวสุโขทัยจึงรู้จักพวกกาว และเขาพูคาเป็นอย่างดี (เขาพูคาคือดอยภูคา ซึ่งปัจจุบันคืออุทยานแห่งชาติดอยภูคา ขยายความว่าดอยภูคานี้มีความสูงเกือบ ๒๐๐๐ เมตร เป็นยอดเขาสูงที่สุดของเมืองน่าน) หากเทียบกับประวัติศาสตร์ของสุโขทัยซึ่งเป็นเจ้าของศิลาจารึกเอง ก็จะพบว่าในช่วงปีสร้างจารึกนี้ (๑๙๓๕) เป็นช่วงที่สุโขทัยได้หลุดออกจากอำนาจอยุธยาเป็นการชั่วคราว คือในช่วงตั้งแต่ปี ๑๙๓๑ -๑๙๖๒ (สุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยามาตั้งแต่ปี ๑๙๒๑) หากทว่าต่อมาได้มีการแก่งแย่งชิงดีกันภายในราชวงศ์สุโขทัยเอง ทำให้อยุธยาสามารถเข้ามามีอำนาจเหนือสุโขทัยได้อีกครั้ง
ในช่วงแห่งความเป็นอิสระนี้เองที่ ได้มีการพยายามรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆที่เคยเป็นของสุโขทัยกลับคืนมา ซึ่งอาจเป็นที่มาของจารึกหลักที่ ๔๕ นี้ก็เป็นได้ คือมีการสบถสาปแช่งต่อผู้ไม่จงรักภักดีต่อเมืองสุโขทัย
ส่วนจารึกวัดบูรพาราม(๑๙๕๖)ก็ได้ขยายความช่วงเวลาแห่งการพยายามกอบกู้แว่นแคว้นต่างๆคืนสู่การครอบครองของสุโขทัย ดังเนื้อความจารึกนั้นกล่าวถึงการแผ่อำนาจขึ้นไปสู่ รัฐกาว ของกษัตริย์สุโขทัยพระองค์หนึ่ง ซึ่งในจารึกกล่าวพระนามว่า พระองค์ท่านกลอย อาจหมายถึง พระมหาธรรมราชาที่ ๒(สุโขทัย) เพราะพระองค์ท่านเสวยราชสมบัติเพียงปี ๑๙๔๒ เท่านั้น และจารึกหลักนี้กล่าวถึงเหตุการณ์ในปี ๑๙๓๙
สำหรับผู้คนในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ความรู้เกี่ยวกับพวกกาวคงจำกัดอยู่เพียงในแถบเมืองเหนือเท่านั้นดังจะเห็นได้จากการปรากฎชื่อเสียงเรียงนามของ พวกกาว ที่มีอยู่มากมายในเอกสารที่จดจารขึ้นทางเหนือ ซึ่งนานวันเข้าชื่อชนชาตินี้ก็มีบทบาทอยู่เพียงในตำนาน จะโลดแล่นบ้างก็แค่ในสมองของคนชั้นสูงที่สนใจประวัติศาสตร์บ้านเมือง
พงศาวดารเมืองน่านเป็นเอกสาร “ใหม่” ที่สุดในที่นี้ คือเป็นเอกสารที่บันทึกขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ก็รวบรวมเอาจากตำนานเมืองเหนือต่างๆที่เกี่ยวกับ กาว และน่าน อย่างน้อยการแพร่หลายออกไปของพงศาวดารฉบับนี้ก็เป็นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชนชาติ กาว ให้เข้าสู่ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในสมัยนั้น แต่ก็คงจำกัดวงแคบอยู่กับคนผู้อ่านออกเขียนได้ ซึ่งโดยมากไม่เป็นชนชั้นสูงก็เป็นภิกษุสงฆ์ แต่สำหรับชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป กาว คงอยู่ห่างไกลจากการรับรู้มาตั้งแต่ยุคนั้น
สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือ แม้ว่าพงศาวดารเมืองน่านจะกล่าวถึงพวก กาว แต่ก็เป็นการกล่าวถึงในฐานะคนผู้อยู่ในอดีตกาล และปรากฏชื่อเพียงในส่วนที่คัดลอกมาจากตำนานบทอื่นๆเท่านั้น
ทั้งหมดนี้กระมัง ที่ทำให้เรื่องราวของชนชาติกาวห่างไกลจากการรับรู้ของชาวบ้านสามัญ (นับแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นจุดที่สามารถศึกษาได้ชัดเจน จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปัจจุบัน) จึงไม่มีแม้แต่เรื่องราวเล่าขานปรัมปรา(myth)หรือนำมาผูกเป็นนิทานที่มีคติสอนใจ(folklore)บ้างเลย ส่วนการเคลื่อนย้ายเข้ามาของกลุ่มไทยลื้อเมื่อ ๒๐๐-๓๐๐ ปีมานี้ อาจดูดกลืนชนชาติหนึ่งให้สูญหายไปจากที่ยืนทางสังคมได้ และอาจมีความชอบธรรมทางชนชาติมากพอ ที่จะปฏิเสธการรับช่วงต่อเพื่อสืบทอดเรื่องเล่าอันสะท้อนภาพของกลุ่มคนที่อยู่มาแต่เดิม
ไปเคาะประตูบ้าน…ชนชาติกาว บ้านหลังแรกที่เราจะเดินไปเคาะประตูคือ ตำบลวรนคร อยู่ในเขตอำเภอปัว ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นเมืองวรนครเก่าที่พระยาเถรแต๋งได้สร้างให้เจ้าขุนฟอง โอรสพระยาภูคาได้ครอบครอง พระยาภูคานี้ได้ครอบครองพื้นที่แถบเมืองน่านปัจจุบันมาก่อน มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองย่างแถบท่าวังผา ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นละแวกหนึ่งก่อนถึงอำเภอปัว พระยาภูคาครอบครองพื้นที่นี้นับแต่ปี ๑๘๒๕ ก่อนจะสร้างเมืองจันทบุรี และวรนครตามตำนาน
ตำบลวรนครมีชุมชนหนึ่ง ชื่อว่า บ้านร้องแง ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของกลุ่มไทยลื้อ เมื่อผู้เขียนเข้าไปที่ วัดร้องแง ได้พบชาวบ้านหลายคนกำลังทำบุญอยู่ที่วัด จึงได้พูดคุยเกี่ยวกับพวกกาว ปรากฏว่าไม่มีใครเคยได้ยินชื่อ กาว นี้มาก่อน ไม่มีเรื่องเล่าชาวบ้าน ไม่มีแม้แต่มุขปาฐะ นอกจากนี้ชาวบ้านบางคนยังย้อนถามผู้เขียนว่า เข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนหรือเปล่า ?
อำเภอปัวนี้มีหลักฐานการค้นพบขวานหินสมัยหินใหม่ ซึ่งมีอายุแสดงถึงพัฒนาการของชุมชนตั้งแต่ ๕๐๐๐-๓๐๐๐ ปีมาแล้ว อีกทั้งบริเวณรายรอบเมืองปัวเองก็มีการค้นพบ เมืองโบราณแบบยังไม่รู้จักการหักแนวกำแพงเมืองเป็นมุมฉากอีกถึง ๔ เมืองด้วยกัน คือเมืองโบราณชุมชนบ้านปัว บ้านสวนดอก บ้านศาลา และบ้านทุ่งกลาง ซึ่งอาจเป็นเมืองแวดล้อมเมืองวรนครก็ได้
นอกจากนี้หากข้ามดอยภูคาไปก็จะเข้าถึงอำเภอบ่อเกลือ ซึ่งเป็นอำเภอบนเทือกเขาสูง มีอาณาเขตติดชายแดนลาวโดยมีเทือกเขาแดนลาวขวางกั้นอยู่ ที่นี่มีการขุดพบกลองมโหระทึกในวัฒนธรรมดองซอน ๒ ใบด้วยกัน อาจทำให้คิดถึงแกวซึ่งอาจเพี้ยนมาเป็นกาว แต่ทว่าชนชาติลาวก็มีคติและต่างใช้กลองแบบนี้กันมากมาย เจ้ากลอง ๒ ใบที่ว่านี้มีผู้รู้บางท่านสันนิษฐานไว้ว่า แม้ตัวมันเองจะมีอายุอานามถึงประมาณ ๓๐๐๐-๒๕๐๐ ปีมาแล้วก็ตาม แต่อาจถูกฝังไว้ ณ อำเภอบ่อเกลือนี้ไม่นานกว่า ๔๐๐-๕๐๐ ปีมานี้เอง ทั้งนี้ท่านได้สันนิษฐานจากวัตถุที่ถูกฝังรวมอยู่ด้วย ซึ่งขุดพบในคราวเดียว และฝังลึกอยู่ในดินชั้นเดียวกัน
ผู้เขียนจำได้ว่าเคยอ่านจากที่ไหนสักแห่ง มีคำกล่าวว่า กาวน่าน อีกคำหนึ่ง ตามประสาคนคิดมากก็จึงได้ว่า ทำไมต้องใช้คำว่า กาว ไปขยายคำว่าน่าน หรือเป็นเพราะว่ามี กาว กลุ่มอื่นๆที่ไม่ใช่ กาวน่าน อีก ?
เมืองน่านตั้งเป็นบ้านเมืองเมื่อปี ๑๙๑๑ ชื่อเมืองถูกนำไปใส่ไว้ในจารึกหลักที่ ๘ (จารึกเมื่อ๑๙๑๕) จากนั้นชื่อเมืองน่านคงฮิตติดลมบน จนบดเบียด ปกกาว กาวเทศ หรือ รัฐกาว ไปเสีย
นอกจากนี้มีบ้านอีกหลังที่ผู้เขียนเดินทางไปเคาะประตูไม่ถึง บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บริเวณหลวงน้ำทา ในเขตดินแดนประเทศลาว เนื่องจากผู้เขียนได้อ่านพบข้อมูลในหนังสือเล่มหนึ่งโดยบังเอิญว่า ณ หลวงน้ำทามีดอยสูงแห่งหนึ่งมีชื่อเรียกในหมู่คนลาวว่า ดอยหลวงปูคา หรือ ดอยหลวงภูคา นี้เอง
จึงเป็นการเข้าใกล้สิ่งที่ผมเชื่อโดยขาดข้อพิสูจน์ตั้งแต่แรกเริ่มสนใจเรื่อง กาว ว่าหากชนชาตินี้จะมีความสัมพันธ์กับพวกไหนสักกลุ่มหนึ่ง คนกลุ่มนั้นจะต้องเป็นชนชาติลาว เรื่องนี้คิดไว้จนกระทั่งมาอ่านเจอโดยบังเอิญจากหนังสือเล่มนี้เอง
ผมเชื่อว่าพวก กาว เป็นเจ้าของวัฒนธรรมรุ่นแรกๆของอำเภอปัว หากว่ากันตามตำนานก็ต้องกล่าวว่าอยู่มาก่อนปู่เจ้าลาวจก อยู่มาก่อนพระยาภูคา อยู่มาก่อนไทยลื้อ อยู่มาก่อนไทย จีน ฮ่อ ทั้งหลาย
แล้วก็สาปสูญไปอย่างไร้ร่องรอย……
ยังไม่มีนักมานุษยวิทยาในเมืองไทยคนใด หยิบจับเรื่องชนชาติกาวขึ้นมาทำการศึกษาอย่างจริงจัง ?
ในหมู่ของนักศึกษาภาควิชามานุษยวิทยาในเมืองไทย เป็นที่รู้กันว่า หากจะทำวิทยานิพนธ์ให้ผ่าน และจบอย่างง่าย ๆ อย่าหยิบจับเรื่องชนชาติกาวขึ้นมาเป็นหัวข้อในการทำวิทยานิพนธ์เป็นอันขาด ?
รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารต่วย’ตูน พิเศษ เป็นลิขสิทธิ์ของนายไมเคิ้ล เลียไฮ รายละเอียดเกี่ยวกับภาพประกอบเป็นภาพที่บันทึกมาจากเว็บไซต์แห่งหนึ่ง
นางฟ้าแห่งขุนเขา (Miao)
เสื้อแห่งความรัก อายอุ่นโอบกอดความรักแห่งขุนเขา
ความงดงามนั้น คือ สิ่งที่มีอยู่ใน นิเวศน์วิถี แห่งธรรมชาติ มนุษย์เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับความงามนั้นเลียนแบบเรียนรู้ นำสู่วิถีนิเวศน์ชีวิตของตนเองก่อเกิดความอัศจรรย์ ของการดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ กลายเป็นคุณค่าอันใหญ่หลวงทั้งทางจิตวิญญาณและสำแดงความเป็นวิถีจารีตประเพณีของชาติพันธุ์ต่างๆอย่างมากมาย
อยากจะบอกทุกคนให้รู้ว่าชุด ชาวเผ่าม้งนั้นนอกจากความงดงามที่เห็นด้วยตาเปล่าแล้วยังมีเรื่องราวอีกมากมายอยู่ในนั้นเป็นเหมือนแผนที่ชีวิตของชนเผ่าม้งก็ว่าได้
บนพื้นที่สูงดินแดนหุบเขาตอนบนของประเทศไทย คือ ที่ตั้งชุมชน คนขุนเขา ชาวไทยภูเขา หลายชาติพันธุ์ พลังแห่งความงามครั้งนี้ขอมอบแด่ ชาวเผ่า ม้ง คือ ชื่อเรียกขานนามแทนชนชาติพันธุ์ เมื่อการก้าวเดินครั้งนี้ได้เห็นและได้เรียนรู้แง่งามบางสิ่งที่ชวนค้นหาถึงเรื่องราววิถี วัฒนธรรมการดำรงอยู่ในเอกลักษณ์อันงดงามของชาวเผ่าม้ง เมื่อข้าพเจ้า ตื่นนอนขึ้นมาพร้อมกับเสียงกิจกรรมมากมายที่เกิดขึ้นลานกว้างหน้าบ้าน ซึ่งดูเหมือน เป็นพื้นที่สาธารณะที่เกือบทุกครอบครัวจะต้องเดินออกมาชุมชนกันในตอนเช้าเพื่อผิงไฟคลายความหนาวเย็นในอากาศยามเช้าที่คนพื้นที่ลุ่มน้ำไม่คุ้นชินมากนัก ภาพที่เห็นคือความเงียบของทุกคนที่ไม่พูดสิ่งใดกันออกมาเลย มีแต่ภาพคุณยาย คุณแม่ เขาและเธออีกหลายคนนั่งไม่ไกลกันมากนัก นั่งลงมือปักผ้ากันอย่างตั้งใจ และใจเย็นมาก เหมือนกับว่าไม่รู้จักเบื่อหน่ายสิ่งที่ทำอยู่ซ้ำไปซ้ำมาเมื่อเด็กน้อยตื่นขึ้นมา จากฝันหวานตลอดคืน เธอเดินตัวปลิวเข้าหาคุณยายพร้อมนั่งลงอย่างช้าๆ สายตาคู่นั้นที่พึงตื่นจ่องมองดูการปักผ้าของคุณยายอย่างตั้งใจ มันเริ่มต้นที่เด็กน้อย เมื่อตื่นขึ้นมามองดูลานหน้าบ้านเธอมองดูยายและแม่
กำลังนั่งปักผ้าอย่าใจเย็น ตลอดเช้าจนค่ำ เธอเฝ้ามองเรื่องราวนั้นทุกวัน ทุกวัน และแล้วก็ถึงเวลาของ เด็กน้อย ที่จะทดลองปักผ้าดูบ้าง นั้นคือการเริ่มต้นของตำนานรักของชาวเผ่าม้ง ไม่นาน หนูน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะจับเข็มและดายปักลงไปบนเนื้อผ้าอย่างที่ตั้งใจไว้หรืออาจจะพยายามเรียนแบบคุณยายและคุณแม่ แต่ไม่นานหนูน้อยก็ร้องขึ้นเสียดังเพราะถูกเข็มทิ่มที่ปลายนิ้วมือจนเลือดออก คุณยายจับปลายนิ้วมือหลานน้อยมาดูดเอาเลือดออกแล้วเป่าลมไปที่ปลายนิ้วมือหลังจากนั้นไม่นาน ยายก็คงยังนำเข็มและด้ายส่งให้หลานอีกทำซ้ำๆไปอย่างนี้ทุกวันๆ…..นี้กระมังที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานความรักที่ผ่านเส้นใยไหมบางๆจากรุ่น สู่รุ่น
นั่นแสดงให้เห็นว่าแต่งกายของชาวเขาเผ่าม้งจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีการประดับตกแต่งลวดลายที่หลากหลายมาจากเหตุการณ์ต่าง ๆที่ผูกพันในการดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ความเชื่อต่าง ๆ ที่พยายามสอดแทรกไว้ในลายปักบนผืนผ้าแต่ละลาย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของคนในสังคมของชาวเขาเผ่าม้งทั้งสิ้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางภูติผีปีศาจและไสยศาสตร์พร้อมทั้งจิตวิญญาณ ชาวเขาเผ่าม้งจึงนำความเชื่อดังกล่าวสอดแทรกในลายผ้าปักแต่ละลายและยังดำรงรักษารูปแบบวิธีการปักและลวดลายดั้งเดิมมาพัฒนาปรับเปลี่ยน
มลาบรี
มลาบรี จะอพยพตามลักษณะภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะอาศัยอยู่ในแต่ละพื้น ที่เป็นเวลา 5-10 วัน แล้วย้ายไปที่อื่นที่มีอาหารเพียงพอรูปแบบ ในการอพยพในลักษณะวนกลับมาที่เดิมในรัศมี ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ในแต่ละปีเมื่อถึงฤดูกาลที่ต้องเร่ร่อนเข้าป่าเพื่อตีผึ้ง ต้องอพยพไปทั้งหมู่บ้าน มลาบรี เป็นกลุ่มสังคมล่าสัตว์ (Hunting and Gathering Society) พวกเขาจะสร้างที่พักชั่วคราว มีลักษณะ เป็นเพิง สร้างจากไม้ไผ่ มุงด้วยใบตองกล้วยจึงถูกเรียกชื่อว่าเผ่าตองเหลือง เพราะจะย้ายที่อยู่เมื่อเวลาที่ใบตองเริ่มออกสีเหลือง ขนาดของเพิงจะขึ้นอยู่กับจำนวน สมาชิก แต่ละครอบครัว โดย จะสร้างส่วนท้ายบ้าน เป็นส่วนที่สูง หน้าบ้านจะลาดต่ำเวลานอนมลาบรีจะนอนท่าตะแคงเอาหูแนบพื้น สันนิษฐานว่าใช้ประโยชน์ในการฟังเสียงของสัตว์ และคนเดินหรือ ศัตรู ที่จะเข้ามาในบริเวณที่พัก (สุรินทร์ 2531, น.34)จำนวนสมาชิกที่จะอาศัยอยู่ในบริเวณหนึ่ง ๆ จะมีจำนวน 2-3 ครอบครัวต่อหนึ่งพื้นที่ หรือประมาณ 10-15 คน ชาวมลาบรียึดมั่นในประเพณีของตนโดยจะไม่ยอมรับแบบแผนในการเป็นผู้ผลิตทำการเกษตร เพราะเชื่อว่าผิดผี
ลักษณะบ้านเรือน
การตั้งถิ่นฐานของมลาบรี ปกติจะอพยพตามลักษณะภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะอาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่ เป็นเวลา 5-10 วัน แล้วย้ายไปที่อื่นที่มีอาหารเพียงพอ รูปแบบในการอพยพในลักษณะวนกลับมาที่เดิม ในรัศมีประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ในแต่ละปีเมื่อถึงฤดูกาลที่ต้องเร่ร่อนเข้าป่าเพื่อตีผึ้ง ต้องอพยพไปทั้งหมู่บ้าน มลาบรีเป็นกลุ่มสังคมล่าสัตว์ พวกเขาจะสร้างที่พักชั่วคราว ลักษณะเพิงที่พักของชนเผ่ามละสร้างจากไม้ไผ่คล้ายกับเพิงหมาแหงน ขนาดของเพิงจะขึ้นอยู่กับจำนวน สมาชิกแต่ละครอบครัว ภายในไม่มีการยกพื้น ใช้พื้นดินเป็นพื้นเพิงและนำหญ้าฟางแห้งหรือใบตองมาปูบนพื้น เวลานอนจะไม่หนุนหมอน แต่ตะแคงหูแนบพื้น เพื่อให้สามารถได้ยินฝีเท้าคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้เพิงพักได้ พวกผู้หญิงและเด็กจะอยู่ในกระท่อมที่สร้างบนภูเขาสูง เมื่อพวกผู้ชายไปล่าสัตว์หาของป่า หรืออาหารได้เพียงพอแล้ว จึงจะกลับไปหาลูกเมียครั้งหนึ่ง
ความเป็นอยู่ ชนเผ่านี้ เดิมอยู่ในป่าที่มีภูมิประเทศลักษณะเป็นลำห้วย หรือภูเขาที่มีป่าทึบ เพื่อจะหาอาหารง่าย เพราะในป่าจะมีต้นเผือกหรือมันตามธรรมชาติ อีกอย่างชนเผ่านี้อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ ลำห้วย เพื่อไปเอาน้ำสะดวก และมีการใช้ไม้หรือกิ่งไม้ที่หาได้ง่ายมาทำเป็นเพลิงหมาแหงน มีใบตองกล้วยมุงเป็นหลังคา เมื่อยู่ถึง 4 วัน หรือ 7 วันใบตองกล้วยกลายเป็นสีเหลือง เขาก็ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นแต่ไปไม่ไกล อาจเป็นเหนือลำห้วยหรือใต้ลำห้วย แล้วแต่การหาอาหารที่จะสะดวก เมื่อเวลาชนเผ่าพบหรือเจอกัน ให้ดูสัญลักษณ์ที่ใบหู คือมีใบหูเจาะรูไว้หรือไม่ ถ้าเจาะไว้ถือว่าเป็นพวกเดียวกัน จากนั้นค่อยทักทายกัน
ไทยวน
บ้านไทยวน ตำนานสิงหนวัติ บ้านเมือง โยนกนคร หรือโยนกนาคนครสู่ล้านนา
ไทยวน ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า สิงหนวัติกุมารโอรสของท้าวเทวกาล ซึ่งปกครองบ้านเมืองอยู่ทางยูนนาน ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำโขง ตอนใต้ซึ่งก็คือเชียงราย เชียงแสน ในปัจจุบัน และตั้งชื่อเมืองว่า โยนกนคร หรือ โยนกนาคนคร คนทั่วไปเรียกเมืองโยนกนี้ว่า โยนก หรือ ยูน หรือ ยวน ไทยวน หรือ คนยวน กลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาไท-กะไดกลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทยที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ในอดีตคนล้านนามีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ “ไทยวน” ซึ่งมีคำเรียกตนเองหลายอย่าง เช่น “ยวน โยน หรือ ไต(ไท)” และถึงแม้ในปัจจุบัน ชาวล้านนาจะกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็มักเรียกตนเองว่า “คนเมือง” ซึ่งเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง ในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูประชากรในล้านนาหลังสงคราม โดยการกวาดต้อนกลุ่มคนจากที่ต่างๆเข้ามายังเมืองของตน จากอดีตครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลก ในปีพ.ศ.2347
ที่อยู่อาศัย การสร้างเรือนของไทยวน เรือนของชาวไทยวนนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด เมื่อชาวเชียงแสนได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีในตอนต้นนั้น มีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ดังที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทรบุรีจากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน บ้าน เสาไห้ก็พบว่า แต่เดิมนั้นมีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง
ลักษณะของเรือนไทยวนก็คงจะพัฒนามาจากเรือนชั่วคราว(กระท่อม)ก่อนแล้วมาปลูกเป็นเรือนถาวรอันเนื่องจากวัฒนธรรมเดิม ของไทยวน จะมีเรือนกาแล ลักษณะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาหน้าจั่วเรือน ส่วนบนผายออก เรียกว่า เรือนอกโตเอวคอด ดังนั้นเมื่อ แรก เริ่มคนไทยวนก็ปลูกเรือนกาแล
เรือนของชาวไทยวนนั้น มีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด เมื่อชาวเชียงแสนได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีในตอนต้นนั้น มีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ดังที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทรบุรีจากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน บ้าน เสาไห้ก็พบว่า แต่เดิมนั้นมีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง
ความเชื่อชาวไทยวน มีความเชื่อในเรื่องผี ซึ่งอาจให้คุณหรือโทษได้ ผีที่ชาวไทยวนให้ความสำคัญได้แก่ ผีเรือน หรือ ผีประจำตระกูล หรือ ผีบรรพบุรุษ คนยวนเรียก ผีปู่ย่า คนยวน 1 ตระกูล จะมีศาลผีหรือหิ้งผีอยู่ที่บ้านของคนใดคนหนึ่ง เมื่อลูกหลานในตระกูลนี้ เมื่อลูกหลานคนใดแต่งงานก็จะพากันมาไหว้ผีปู่ย่าที่บ้านนี้ หรือในช่วง เทศกาลสงกรานต ์ก็จะพา กันมาไหว้ผีปู่ย่าเช่นกัน
ผีประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านจะมีศาลผีประจำอยู่ บางหมู่บ้าน อาจจะมีมากกว่าหนึ่งศาล เช่นที่ บ้านไผ่ล้อม อำเภอเสาไห้ มีศาลเจ้าชื่อ ปู่เจ้าเขาเขียวโปร่งฟ้า มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า เดิมปู่เจ้าอยู่ที่เชียงดาว เชียงใหม่ ในครั้งที่มีการอพยพ ได้มีคนเชิญให้ร่วมทางมาด้วย เพื่อคุ้มครองลูกหลานยวนที่เดินทางมาในครั้งนั้น และได้ปลูกศาลให้ท่านอยู่ เชื่อกันว่า เจ้าปู่ นี้มักจะกลับไปอยู่ที่เชียงดาว เมื่อถึงวันสงกรานต์ ก็จะมาเยี่ยมลูกหลานของท่านทุกๆ ปี
ผีประจำวัด เรียกว่า เสื้อวัด ทุกวัดจะมีศาลเสื้อวัดประจำอยู่ทุกๆ วัด บางวัดมีมากกว่า 2 ศาลเวลามีงานวัด จะต้องจุดธูปบอกเสื้อวัดเสียก่อน
ผีประจำนา เรียกว่า เสื้อนา ความเชื่อเรื่อง เสื้อนามีมานาน ดังที่ปรากฏในหนังสือกฎหมายมังรายศาสตร์ ฉบับวัดเสาไห้ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ผู้ใดขี้ใส่นาแรกท่าน ตั้งแต่ตอนหว่านกล้าไปจนถึงตอนจะย้ายปลูกจะเก็บเกี่ยวให้ มันหาเหล้า 2 ไห ไก่ 2 คู่ เทียน 2 เล่ม ข้าวตอกดอกไม้ มาบูชาขวัญข้าว และเสื้อนาผิดเพียงแต่เยี่ยว ไม่ได้ขี้ ให้ มันหาไก่คู่หนึ่ง เหล้าขวดหนึ่งเทียนคู่หนึ่ง้าวตอกดอกไม้บูชาเสื้อ นา……” ความเชื่อเรื่องเสื้อนานี้ เมื่อถึงเดือนหก แม่บ้านจะทำขนมบัวลอยไปวางเซ่นที่นาเพื่อเลี้ยงเสื้อนาของตนทุกปี
ประเพณีขึ้นท้าวทั้ง 4 ชาวไทยวนเรียก “ต๊าวตังสี่” หมายถึง ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งเป็นเทวดาประจำทิศทั้งสี่ ก่อนที่จะมีงานใดๆ จะทำการเลือกสถานที่ๆ เหมาะสม เอาไม้ 5 ท่อนมา ปักเป็นเสา 4 มุม เสาต้นกลางสูงกว่าเสาสี่มุม บนเสานี้จะวางเครื่องเซ่น เช่น หมาก บุหรี่ ดอกไม้ธูปเทียน กระทงอันกลาง เป็นของพระอินทร์ ผู้รู้พิธีจะเป็นคนกล่าวเชิญเทพทั้ง 4 มารับเครื่องเซ่นและมาช่วนปกป้องคุ้มครองงานของตนให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ลักษณะข้อสังเกต เรือนไทยวนของน่าน ไม่ใช้เรือนกาแล แต่เป็นเรือนแฝด มีองค์ประกอบของเรือนเหมือนเช่นเดียวกับเรือนกาแลแต่ไม่มีการประดับกาแล
ไทยพวนน่าน
บ้านไทยพวนน่าน (Phuen, Puen)
บ้านไทยพวนน่าน(Phuen, Puen) …ไม่ใช้ลาวพวน….”พวน” เป็นชื่อเรียกคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว ที่เรียกชื่อว่า เมืองพวนเพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าภูพวน จึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองพวน แล้วเอาชื่อเมืองมาเรียก เป็นชื่อคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองนั้นว่าคนพวนหรือชาวพวน คนพวน ที่เรียกตัวเองว่า ไทพวน เป็นคนไทกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แขวงเชียงขวาง ตอนเหนือของประเทศลาวซึ่งติดต่อกับแขวงหัวพันและดินแดนสิบสองจุไทเดิมใน ประเทศเวียตนาม เมืองเดิมของพวนปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์เจ็ดเจือง ซึ่งมีกษัตริย์สืบทอดติดต่อกันมาโดยตลอด แต่เนื่องจากพื้นที่เชียงขวางเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นเมืองหน้าด่านในการเข้าไปยังหลวงพระบาง เวียงจันทน์และญวน เชียงขวางจึงต้องรับศึกอยู่ตลอดเวลา อันเป็นเหตุให้คนพวนบางกลุ่มต้องอพยพโยกย้ายมาอยู่ในเวียงจันทน์ และเมืองอื่นๆ แต่การโยกย้ายครั้งสำคัญที่ทำให้เมืองพวนร้างผู้คนจนสูญสิ้นอาณาจักร คือการถูกกวาดต้อน เทครัว โดยรัฐสยามตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นต้นมา หนึ่งในดินแดนที่ชนชาติพันธุ์ไทยพวน พำนักอยู่ คือนครน่าน ( บ้านหลับมืนพวน อำเภอเวียงสา บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา)….และยังเป็นตำนานที่ยังมีวิถีชีวิตที่งดงาม
บ้านเรือนของชาวพวน เป็นเรือนสูง นิยมปลูกเป็นเรือนที่มีห้องตั้งแต่ ๓ ห้องขึ้นไป ใต้ถุนเรือนใช้ทำประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำคอกวัว-ควาย เล้าเป็ดเล้าไก่ ตั้งเครื่องสำหรับผูกหูกทอผ้า หลังคาทรงมะนิลา ไม้เครื่องบนผูกมัดด้วยหวายแทนการตอกตะปู แต่ถ้าเป็นบ้านเจ้านายหรือผู้มีฐานะดีและวัดจะใช้ตะปูซึ่งทำขึ้นเอง และหลังคามุงด้วยหญ้าคา ถ้าเป็นบ้านผู้มีฐานะดีมุงด้วยกระเบื้องไม้เรียกว่าไม้แป้นเก็ด หรือกระ เบื้องดินเผา พื้นและฝาเรือนปูด้วยกระดาน ไม้ไผ่สีสุกสับแผ่ออกเป็นแผ่นๆ เรียกว่า ฟาก แล้วมีเสื่อสานด้วยหวายทับอีกชั้นหนึ่ง มีห้องครัวอยู่บนเรือน มีชานยื่นออกมาจากตัวเรือน และมีบันไดขึ้นลงพาดที่นอกชานด้านทิศเหนือ ส่วนเสาเรือนนั้นอาจใช้ไม้ทั้งต้นหรือใช้อิฐก่อเป็นเสาขนาดใหญ่
ฤกษ์ในการปลูก คือเวลาเช้าการปลูกเรือนจะเสร็จในวันเดียวประมาณ ๕-๖ โมงเย็น จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง บางพวกทำเล้าไก่ ทำเตาไฟ การขึ้นบ้านใหม่เจ้าของบ้านต้องหาบสิ่งของขึ้นไป ได้แก่ ไซ หัวหมู แห ไม้ค้อน สิ่ว และหอก ต่อจากนั้นจะมีคนถือเสื่อที่นอนหมอนมุ้ง ถาดข้าวต้ม ขนมหวานสำหรับทำขวัญเรือน เมื่อญาติพี่น้องมาพร้อมหน้า ก็เริ่มทำพิธีตามประเพณี การนอนเรือนใหม่จะต้องมีคนนอนให้ครบทุกห้องเป็นเวลา ๓ คืน คืนที่สี่ เจ้าบ้านจะต้องจัดทำข้าวต้มขนมหวานเลี้ยงดูญาติพี่น้องที่มานอนเป็นเพื่อนเมื่อเจ้าบ้านจัดบ้านเสร็จคนที่จะเข้าออก ห้องนอนได้ต้องเป็นคนในครอบครัว เท่านั้น
ภาพโดย ธีทัต แซ่ว่าง
บ้านขมุ (khamu)
บ้านขมุ (khamu) หรือ ลาวเทิงหรือลาวบนที่สูง ชนชาติผู้รักสงบและสันโดษ
บ้าน…ขมุ หรือ ลาวเทิงหรือลาวบนที่สูง… ชนชาติผู้รักสงบและสันโดษ เมื่อนั่งฟังผู้เฒ่าจึงทราบตำนานในการเรียกขานชื่อชาติพันธุ์ตนเองว่า “ตม้อย”…โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะจำเพาะของตนในเชิงภาษาและการได้รับอิทธิพลทางสัฒนธรรม ดังนี้คือ – ตม้อยปูลวง(ชาวขมุที่จากมาในพื้นที่ดังเดิมในฝังลาว) – ตม้อยดอย(ชาวขมุที่อาศัยอยู่บนเขา) – ตม้อยลื้อ(ชาวขมุที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อ)
ลักษณะบ้านเรือน ชาวขมุตั้งถิ่นฐานอยู่บนที่สูง ชอบสร้างบ้านอยู่ตามชายเขา ระดับสูงจากน้ำทะเล ประมาณ 2,500- 3,000 ฟุต บ้านเรือนจะสร้างด้วยไม้ไผ่ ยกเว้นเสาและขื่อรองรับหลังคาใช้ไม้แผ่นประกอบ หลังคาใช้ใบจาก ฝาบ้านใช้แฝก ปัจจุบันบ้านที่ฐานะดีจะเปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นไม้แผ่น ใต้ถุนบ้านจะเป็นที่เก็บฟืนและสัตว์เลี้ยงเช่น ไก่ หมู เป็นต้น บริเวณจันทัน ใช้เป็นที่เก็บของเช่น ตะกร้า อาหารแห้ง กับดักสัตว์ เมล็ดพันธ์พืชและสิ่งมีค่าอื่นๆ
บ้านในระดับความสูงที่ต่ำกว่า 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และที่ตั้งหมู่บ้านส่วนใหญ่จะนิยมพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา นอกจากนี้ยังนิยมตั้งหมู่บ้านที่มีทางเข้าหมู่บ้านหันไปทางทิศตะวันออก ซึ่งขมุถือว่าจะนำความร่วมเย็นเป็นสุขมาให้แก่คนในหมู่บ้านลักษณะบ้านขมุ เป็นบ้านยกพื้นและพื้นบ้านมี 2 ระดับ บ้านส่วนใหญ่จะมีห้องนอนเดียวซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบบ้านกับลักษณะโครงสร้างของครอบครัว กล่าวคือ ขมุมักจะมีครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว จึงมิได้มีโครงสร้างบ้านที่สามารถจะแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ได้มากนัก และการที่ที่จะต่อเติมบ้านก็กระทำได้ยาก เนื่องจากเป็นบ้านยกพื้น
บ้านในระดับความสูงที่ต่ำกว่า 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และที่ตั้งหมู่บ้านส่วนใหญ่จะนิยมพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา นอกจากนี้ยังนิยมตั้งหมู่บ้านที่มีทางเข้าหมู่บ้านหันไปทางทิศตะวันออกซึ่งขมุถือว่าจะนำความร่วมเย็นเป็นสุขมาให้แก่คนในหมู่บ้าน
ลักษณะบ้านขมุ เป็นบ้านยกพื้นและพื้นบ้านมี 2 ระดับ บ้านส่วนใหญ่จะมีห้องนอนเดียวซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบบ้านกับลักษณะโครงสร้างของครอบครัว กล่าวคือ ขมุมักจะมีครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว จึงมิได้มีโครงสร้างบ้านที่สามารถจะแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ ได้มากนัก และการที่ที่จะต่อเติมบ้านก็กระทำได้ยาก เนื่องจากเป็นบ้านยกพื้น
ไทลื้อ
บ้าน…ไทลื้อ กับ ตำนานการยกกองทัพของเจ้าเมืองน่าน ขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน
บ้าน…ไทลื้อ ชาวไทลื้อนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ําระหว่างหุบเขา หรือแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ที่ มีแม่น้ําไหลผ่าน อันมีปัจจยทางวัฒนธรรมและพื้นฐานด้านลักษณะนิสัยเข้ามาเกียวข้อง เนื่องจากคนไทลื้อส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จึงต้องใช้น้ําเป็นอย่างมาก โดยกลุ่มไทลื้อทอาศัยอยู่บริเวณตอนใต้ของจีนดินแดน สิบสองปันนา ลาว พม่า จะนิยมสร้างถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ําระหว่างหุบเขา เนื่องจากเป็นดินแดนที่มีเทือกเขาสลับซับซ้อน จึงไม่ปรากฏแอ่งที่ราบลุ่มผืนใหญ่ที่เหมาะ แก่การตั้งถิ่นฐานเพื่อสร้างชุมชนขนาดใหญ่แต่กลุ่มคนไทลื้อที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ก็สามารถปรับตัวใหเข้ากับสภาพแวดล้อมไดเป็นอย่างดี แม้ประชากรทอาศัยอยู่ในแตละเมือง มีจํานวนเบาบาง และการคมนาคมขนส่งจะไม่สะดวกก็ตามชุนชนแต่ละแห่งจึงกระจัดกระจายไปตามสภาพภูมศาสตร์ต่างๆ ที่เหมาะแกการเพาะปลูก เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ํา ที่ราบระหว่างหุบเขาและบริเวณเชงเขา ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพหรือถูกกวาดต้อน ออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย ในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) และเจ้าสุมนเทวราช (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน และเมืองบางส่วนในประเทศลาว และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าสุริยะพงษ์ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ก็ได้ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน
ลักษณะบ้าน
1. เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ใช้งานใต้ถุนเรือน
2. ทางขั้นบันไดหน้าเพียงบันไดเดียว มีหลังคาคลุม ทั้งที่หลังคาผืนใหญ่คลุมและที่ต่อชายคายื่นยาวคลุม
3. หลังคาผืนใหญ่ ยื่นยาว และทำเป็นสองตับ จนแทบมองไม่เห็นผนัง
4. มีและใช้เสาแหล่งหมา
5. มีบริเวณที่เรียกว่า หัวค่อมหรือค่อม เหมือนเติ๋นในเรือนล้านนา แต่นิยมทำม้านั่งยาวโดยรอบแทนการทำราวกันตก
6. ภายในเรือนเป็นโถง แบ่งพื้นที่ซ้ายขวาเป็นส่วนเอนกประสงค์และส่วนนอน ซึ่งอาจแบ่งสองส่วนนี้ด้วยฝาไม้หรือเพียงผ้าม่าน
7. โถงเอนกประสงค์ใช้พักผ่อน ครัวไฟ เก็บของ ส่วนปลายเป็นลานซักล้างหรือ จานกอน
8. ใช้แม่เตาไฟเป็นกระบะไม้ดาดดินเหนียวใช้ตั้งเตาไฟ
9. ส่วนนอนจะกั้นพื้นที่แต่ละคนด้วยผ้าม่าน ใช้เตียงหรือฟูกปูนอน
10. มีหิ้งผีบรรพบุรุษติดตั้งกับฝาบ้านในห้องโถง ไม่มีหิ้งพระ
ม้ง
บ้าน…ม้ง…จากตำนานที่ยิ่งใหญ่…ชนเผ่าที่มีความกล้าหาญยิ่ง
บ้าน…ม้ง…จากตำนานที่ยิ่งใหญ่…ชนเผ่าที่มีความกล้าหาญยิ่ง…บนทวีปที่ราบสูงแห่งดินแดนธิเบต ไซบีเรีย มองโกเลีย เข้าสู่ดินแดนมังกร…และตั้งหมั่นแถบลุ่มน้ำฮวงโห 3000 ปีและตำนานแห่งผู้กล้าบนหลังม้ายาวนานถึง 800 ปี…ก่อนล่มสลายกระจายตัวสู่ดินแดน ตอนเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน….นครน่านคือหนึ่งในดินแดนพำนัก บ่มเพาะจนเป็นชนอารยธรรมที่คงอัตลักษณ์ของตนอย่างงดงาม….
ลักษณะบ้านเรือน
ม้งจะมีการตั้งบ้านอยู่บริเวณที่มีภูเขาล้อมโดยรอบสลับกันไป ไม่มีเขาสองลูกมาชนกัน และมีน้ำอยู่ใกล้หรืออยู่ต่ำกว่าขุนน้ำ และแม่น้ำไหลผ่านตลอดปี ลักษณะบ้านจะปลูกบ้านชั้นเดียว คร่อมติดดิน หลังคามุงด้วยไม้ผ่า หรือมุงด้วยหญ้าคา กั้นฝาบ้านด้วยแผ่นไม้ผ่าเช่นกัน ภายในตัวบ้านจะมีเตาไฟสำหรับทำอาหาร และจะทำแคร่ยกพื้นสำหรับนั่งเล่นและรับแขก
ม้งเลือกที่ตั้งหมู่บ้านที่ไม่ลาดชันและสันเขาขนาบโดยรอบเพราะมีความเชื่อว่า
– คนในหมู่บ้านจะประสบโชคดีและไม่เจ็บป่วย
– ไม่มีโจรผู้ร้ายรบกวนหมู่บ้าน
ม้งรับวัฒนธรรมความเชื่อจากชาวจีน นับถือผีบรรพบุรุษเช่นเดียวกับจีน ยอมรับการมีเมียหลายคนของชาย หญิงทำงานหนัก ทำงานทุกอย่าง ผู้ชายจะเฝ้าบ้าน สูบฝิ่น หากเมียทำไม่ไหวก็จะออกไปหาเมียใหม่มาช่วย เมียอยู่ด้วยกันเหมือนญาติ ช่วยกันทำงานและปรนนิบัติผัวและพ่อผัว ไม่ทะเลาะกัน ใช้แซ่เป็นสกุลเช่นเดียวกับจีน วันปีใหม่ก็เป็นวันเดียวกับจีน และชายเป็นใหญ่ในครอบครัว
ม้งเลือกที่ตั้งหมู่บ้านที่ไม่ลาดชันและสันเขาขนาบโดยรอบเพราะมีความเชื่อว่า
– คนในหมู่บ้านจะประสบโชคดีและไม่เจ็บป่วย
– ไม่มีโจรผู้ร้ายรบกวนหมู่บ้าน
– การทำมาหากินได้ผลดี
และยังเชื่อว่าถ้าสันเขาด้านขวาทอดยาวกว่าด้านซ้าย คนในหมู่บ้านจะได้ลูกสาวมากกว่าลูกชาย ถ้าสันเขาด้านซ้ายทอดยาวกว่าด้านขวา คนในหมู่บ้านจะได้ลูกชายมากกว่าลูกสาว
ในการปลูกเรือน ม้งก็มีความเชื่อบางอย่างเช่น
– ห้ามปลูกเรือนซ้อนหรือเหลื่อมกันทางสูงหรือต่ำ และห้ามสร้างหันหน้าเรือนเข้าหากัน ประตูตรงกัน จะทำให้ทำมาหากินไม่เจริญ
– ห้ามนำไม้ถูกฟ้าผ่ามาสร้างเรือนหรือนำไปใช้อย่างอื่นแม้แต่ทำฟืน เพราะเป็นสิ่งอัปมงคล
– ให้หันยอดไม้ขึ้นทางจั่วเสมอ ห้ามสลับหัวสลับหาง คนในบ้านจะขัดแย้งกันบ่อยๆ
ตัวเรือน
– ม้งสร้างบ้านเรือนคล้ายเย้า คือสร้างเรือนติดพื้นดิน ใช้พื้นดินที่ปรับระดับเรียบบดอัดแน่นเป็นพื้นเรือน ใช้แคร่และตั่งสำหรับนั่งนอน ซึ่งเป็นรูปแบบบ้านเรือนของจีน
– ม้งจะเลือกทำเลปลูกเรือนให้หันหน้าสู่แหล่งน้ำ หรือ ทางสัญจร หรือ หุบเขา ให้ด้านหลังติดเนินเขา ถือเป็นมงคล
– โครงสร้างเฉพาะเสาหลักเป็นไม้จริง โครงสร้างรองใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาหรือฟากไม้ไผ่
– ฝาเรือนเป็นไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน หรือ ฟากตั้ง หรือฟากขัด
– ผังเป็นแบบบ้านเรือนชาวจีน แบ่งพื้นที่เป็นสามส่วน ทางเข้าตรงกลาง ส่วนตรงกลางตรงทางเข้า จะเป็นบริเวณที่ตั้งหิ้งบรรพบุรุษและบริเวณที่ใช้สำหรับรับแขก หรือนั่งล้อมวงพูดคุยกันในครอบครัวรอบเตาผู้ชาย
– เตาไฟจะแยกเตาสำหรับชาย-หญิง เตาผู้ชายอยู่ด้านหน้าบริเวณรับแขก ใช้สำหรับต้มน้ำชา และผิงไฟให้ความอบอุ่น เตาผู้หญิงอยู่ด้านหลังใกล้ประตูหลังบ้านสำหรับหุงหาอาหาร บางบ้านมีเตาสำหรับสัตว์แยกต่างหากอีกหนึ่งเตา
– ครกตำข้าว(เป็นครกกระเดื่อง) อยู่ในตัวเรือน
บริเวณบ้าน
หน้าบ้านใต้ชายคาเป็นบริเวณทำงาน เช่นเย็บผ้า ทอผ้า และรับแขก
– ม้งจะปรับระดับดินบริเวณบ้านให้เรียบ ใช้งานอเนกประสงค์ เช่น ตากพืช กองผลผลิตเกษตร เลี้ยงสัตว์ ตากผ้า ฯลฯ
– ข้างบ้านใช้เก็บฟืน และของอื่นๆ
– โรงม้า คอกหมู เล้าไก่ สร้างไว้รอบบ้าน ไม่นิยมสร้างรั้วบ้าน
บ้านเรือนม้งปลูกบนพื้นที่ที่ไม่ชันมากนัก เพราะต้องการปรับพื้นที่รอบบ้านให้เรียบเพื่อใช้งานอเนกประสงค์
ลั๊วะ
บ้าน…ลั๊วะ / ลัวะ/Lua ตำนานที่แสนสับสน
จากเรื่องเล่าเมื่อครั้งยังรุ่งเรือง ชนเผ่าโพลินีเซียน อันมีถิ่นอยู่ตอนใต้ ขยายอำนาจสู่ดินแดนลุมน้ำตอนเหนือ จนสูญเสียอำนาจการดำรงอยู่ของอารยธรรมตนเองแก่ชนชาติพันธุ์อื่นที่อพยพมาแทนที่ และต้องสร้างตำนานใหม่ กับการเป็นเจ้าป่าเจ้าเขาอาศัยใกล้กับภูเขาป่าทึบ ก่อนสูญเสียอารยธรรม แก่ชนชาติอื่นในดินแดนลุ่มน้ำ และถูกกลืนอัตลักษณ์ในที่สุด
ลักษณะเรือน
โดยสร้างบ้านเรียงรายอยู่ตามแนวสันเขา ลักษณะบ้านยกพื้นสูงคล้ายบ้านกะเหรี่ยง แต่ลักษณะหลังคาจะมีกาแลเป็นสลักไขว้กันสองอันเป็นหน้าจั่ว หลังคาบ้านซึ่งมุงด้วยหญ้าคาหรือตองตึง จะสูงชันคลุมลงเกือบจรดพื้นดิน รอบ ๆ หมู่บ้านจะเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก และระหว่างพื้นที่ทำไร่ กับหมู่บ้านจะมีแนวป่าซึ่งเป็นป่าแก่สงวนไว้สำหรับเป็นแนวกันไฟเวลาเผาไร่ของหมู่บ้าน มักตั้งอยู่บนภูดอย บริเวณเทือกเขาสูงที่ขนานตัวสลับซับซ้อนกันในจังหวัดน่าน ระดับความสูงระหว่าง 2,500- 3,000 ฟุต ลักษณะบ้านเรือนจะเป็นเรือนไม้ มุงหญ้าคา ชายคายื่นโค้งลงมาแทบถึงพื้นดิน ยกพื้นสูง มีบันไดขั้นบ้าน ตัวเรือนจะมีครัวไฟ และยุ้งข้าว และมีชานบ้านเชื่อมต่อถึงกัน
กรณีชาวลัวะหรือปรัย หรือลัวะปรัยในจังหวัดน่านที่ไม่ได้เรียนทางด้านการออกแบบ แต่สามารถสร้างเรือนพักอาศัยได้อย่างสวยงามและเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศสามารถสร้างความสุขสบายให้กับตนเองได้และมีรูปอบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นมีการสืบทอดภูมิปัญญาทางฝีมือช่าง ในการสร้างบ้านเรือนและงานหัตถกรรมต่อคนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาที่เราควรเรียนรู้และร่วมรักษษมรดกทางวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเพื่อสืบทอดต่อไปโดยทำการศึกษาคติความเชื่อ แบบแผนในการปลูกเรือน โครงสร้าง การแบ่งพื้นที่ใช้สอยในเรือนและการเลือกวัสดุในท้องถิ่น
ชาวเขาเผ่าลัวะ/ถิ่นมักจะนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไหล่เขาหรือที่ราบบนภูเขา ซึ่งมีความสูงไม่ต่ำกว่า300 เมตร และไม่ต่ำกว่า 1,300 เมตร หมู่บ้านที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 600 เมตร ถึง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล หมู่บ้านจะตั้งในที่พื้นที่ราบบนสันเขา ซึ่งจะไม่ห่างจากแหล่งน้ำมากนัก แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้จะต้องเดินลงไปประมาณ 100 – 200 เมตร แทบทั้งสิ้น บ้านเรือนมักตั้งกระจัดกระจายเป็นกลุ่มย่อยเล็กๆ และกลุ่มย่อยนี้จะรวมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ เกิดจากสภาพการทำมาหากินและพื้นที่สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
อิ้วเมี่ยน
บ้าน…อิ้วเมี่ยน… จาก 2,000 กว่าปี…ในดินแดนที่ราบรอบทะเลสาป ตาถิง แถบลุ่มน้ำแยงซี…สู่ผืนแผ่นดินน่าน…
ลักษณะบ้านเรือน จะไม่ตั้งอยู่บนยอดเขา หรือไม่ก็ตั้งอยู่บนที่สูงกว่าต้นน้ำ และจะต้องไม่เป็นหุบเขา การตั้งบ้านของเมี่ยนมักจะเป็นการรวบรวมกันระหว่างกลุ่มแซ่ตระกูล และจะตั้งอยู่ในระดับความสูง 1,000 – 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะการปลูกบ้านจะปลูกคร่อมดินโดยใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ผังของบ้านมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านยาวจะเป็นหน้าบ้านและหลังบ้าน หลังคามุงด้วยใบหวาย หญ้าคาส่วนฝาบ้านจะใช้ไม้เป็นแผ่นหรือไม้ไผ่ทุบปล้อง เมี่ยนไม่นิยมปลูกสิ่งก่อสร้างใดๆ ไว้หลังบ้าน ส่วนสิ่งก่อสร้างอื่นๆ จะมีเช่น ยุ้งข้าว เล้าหมู ซึ่งจะสร้างไว้ด้านหน้า(ด้านประตูใหญ่)
ตัวเรือน – เย้าปลูกเรือนติดพื้นดิน ใช้พื้นดินที่ปรับระดับเรียบบดอัดแน่นเป็นพื้นเรือน ใช้แคร่และตั่งสำหรับนั่งนอน – โครงสร้างเฉพาะเสาหลักเป็นไม้จริง โครงสร้างรองใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาหรือฟากไม้ไผ่ – ฝาเรือนเป็นไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน หรือ ฟากตั้ง – ผังเป็นแบบบ้านเรือนชาวจีน แบ่งพื้นที่เรือนเป็นสามส่วน ทางเข้าตรงกลาง ส่วนตรงกลางตรงทางเข้า จะเป็นบริเวณที่ตั้งหิ้งบรรพบุรุษและบริเวณที่ใช้สำหรับรับแขก หรือนั่งล้อมวงพูดคุยกันในครอบครัว รอบเตาผู้ชาย – เตาไฟจะแยกเตาสำหรับชาย-หญิง เตาผู้ชายอยู่ด้านหน้าบริเวณรับแขก ใช้สำหรับต้มน้ำชา และผิงไฟให้ความอบอุ่น เตาผู้หญิงอยู่ด้านหลังใกล้ประตูหลังบ้านสำหรับหุงหาอาหาร – ครกตำข้าวอยู่ภายในตัวเรือน ตัวเรือน – เย้าปลูกเรือนติดพื้นดิน ใช้พื้นดินที่ปรับระดับเรียบบดอัดแน่นเป็นพื้นเรือน ใช้แคร่และตั่งสำหรับนั่งนอน – โครงสร้างเฉพาะเสาหลักเป็นไม้จริง โครงสร้างรองใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาหรือฟากไม้ไผ่ – ฝาเรือนเป็นไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน หรือ ฟากตั้ง -ผังเป็นแบบบ้านเรือนชาวจีน แบ่งพื้นที่เรือนเป็นสามส่วน ทางเข้าตรงกลาง ส่วนตรงกลางตรงทางเข้า จะเป็นบริเวณที่ตั้งหิ้งบรรพบุรุษและบริเวณที่ใช้สำหรับรับแขก หรือนั่งล้อมวงพูดคุยกันในครอบครัว รอบเตาผู้ชาย – เตาไฟจะแยกเตาสำหรับชาย-หญิง เตาผู้ชายอยู่ด้านหน้าบริเวณรับแขก ใช้สำหรับต้มน้ำชา และผิงไฟให้ความอบอุ่น เตาผู้หญิงอยู่ด้านหลังใกล้ประตูหลังบ้านสำหรับหุงหาอาหาร – ครกตำข้าวอยู่ภายในตัวเรือน
บริเวณบ้าน – หน้าบ้านใต้ชายคาเป็นบริเวณทำงาน เช่นเย็บผ้า ทอผ้า และรับแขก – ข้างบ้านใช้เก็บฟืน – ใกล้บ้านสร้างโรงม้า ยุ้งข้าว คอกหมู เล้าไก่ – ทำสวนครัวด้านข้างหรือหลังบ้าน ปลูกมะละกอ สับปะรด อ้อย พืชที่ใช้ทำอาหาร ซึ่งไม่พบในเผ่าอื่นมากนัก
ตัวเรือน – เย้าปลูกเรือนติดพื้นดิน ใช้พื้นดินที่ปรับระดับเรียบบดอัดแน่นเป็นพื้นเรือน ใช้แคร่และตั่งสำหรับนั่งนอน – โครงสร้างเฉพาะเสาหลักเป็นไม้จริง โครงสร้างรองใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาหรือฟากไม้ไผ่ – ฝาเรือนเป็นไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน หรือ ฟากตั้ง – ผังเป็นแบบบ้านเรือนชาวจีน แบ่งพื้นที่เรือนเป็นสามส่วน ทางเข้าตรงกลาง ส่วนตรงกลางตรงทางเข้า จะเป็นบริเวณที่ตั้งหิ้งบรรพบุรุษและบริเวณที่ใช้สำหรับรับแขก หรือนั่งล้อมวงพูดคุยกันในครอบครัว รอบเตาผู้ชาย – เตาไฟจะแยกเตาสำหรับชาย-หญิง เตาผู้ชายอยู่ด้านหน้าบริเวณรับแขก ใช้สำหรับต้มน้ำชา และผิงไฟให้ความอบอุ่น เตาผู้หญิงอยู่ด้านหลังใกล้ประตูหลังบ้านสำหรับหุงหาอาหาร – ครกตำข้าวอยู่ภายในตัวเรือน